วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

รังสีอินฟราเรด

รังสีอินฟราเรด
รังสี อินฟราเรดหรือรังสีความร้อน เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง มีความยาวคลื่น 700 นาโนเมตร - 1 มิลลิเมตร มีความถี่ช่วง 1011-1014 เฮิร์ต ซึ่งเป็นคลื่นที่มีความถี่ถัดจากความถี่ของสีแดงลงมา มนุษย์จึงไม่สามารถมองเห็นรังสีอินฟราเรด แต่สามารถรู้สึกถึงความร้อนได้และ
รังสีอินฟราเรดมีคุณสมบัติไม่เบี่ยงเบน ในสนามแม่เหล็ก วัตถุทุกชนิดที่มีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง
-200 องศาเซลเซียส ถึง 4,000 องศาเซลเซียส จะแผ่รังสีอินฟราเรดออกมา แม้แต่น้ำแข็งก็มีการแผ่รังสี อินฟราเรดเช่นกัน แต่จะแผ่รังสีออกมาน้อยกว่าวัตถุที่ร้อน

ประเภทของรังสีอินฟรา เรด
อินฟราเรดระยะใกล้ (Near Infrared) มีช่วงความยาวคลื่น 0.7-1.4 um มีความถี่ 230-430 THz ใช้กับอุปกรณ์มองกลางคืน
อินฟราเรดระยะสั้น (Short Infrared) มีช่วงความยาวคลื่น 1.4-3 um มีความถี่ 100-230 THz ใช้กับระบบโทรคมนาคมระยะไกล
อินฟราเรดระยะกลาง (Mid Infrared) มีช่วงความยาวคลื่น 3-8 um มีความถี่ 38-100 THz ใช้นำทางจรวดจรวดมิสซายล์และตรวจจับเครื่องบิน
อินฟราเรดระยะยาว (Long Infrared) มีช่วงความยาวคลื่น 8-15 um มีความถี่ 22-38 THz ใช้ตรวจจับความร้อน โดยไม่ต้องใช้แหล่งกำเนิดแสงจากภายนอก
อินฟราเรดระยะไกล (Far Infrared) มีช่วงความยาวคลื่น 15-1,000 um มีความถี่ 0.3-22 THz ใช้ตรวจหาวัตถุระเบิด

ประโยชน์จากรังสีอินฟราเรด
ใช้รังสีอินฟราเรด ในรีโมทคอนโทลเพื่อสั่งงานเครื่องใช้ไฟฟ้า รังสีอินฟราเรดใช้ในการประกอบอาหารโดยทำเป็นเตาแก๊สอินฟราเรดเพื่อให้ความ ร้อน ทำเป็นเครื่องกำเนิดความร้อนในห้องซาวน่า ทางการแพทย์ใช้ความร้อนอุณหภูมิต่ำจากรังสีอินฟราเรด
บำบัดผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าหรือทำให้แผลเรื้อรังหายเร็วขึ้น
ทางการทหารใช้อินฟราเรดนำทาง จรวดมิสซายล์ไล่ล่าเครื่องบินของศัตรู มองในที่มืด ช่วยให้ลั่นไกได้อย่างแม่นยำไปยังผู้ร้ายเพื่อให้จบภารกิจอย่างรวดเร็ว ใช้เป็นเครื่องจับเท็จจากหลักการที่ว่าความกลัว,ความกังวล จะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้นอัตราการหายใจถี่ขึ้น อุณหภูมิร่างกายจะสูงขึ้น ทำให้ได้รังสีความร้อนซึ่งใช้บอกว่าคนร้ายพูดจริงหรือเท็จ ทางการขนส่งใช้คัดกรองผู้ป่วยมีไข้ เช่น ในช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 สามารถใช้อินฟราเรดคัดกรองผู้ป่วยมีไข้ออกจากคนปกติ ได้ในเวลารวดเร็วเพียงแค่เดินผ่านเครื่องตรวจ
ในทางอุตสาหกรรมใช้ตรวจวงจรไฟฟ้าที่โอเวอร์โหลดตรวจสอบความร้อนที่สูญเสีย ในอาคาร

ที่มาห้องสมุดของ Kmutt >>>
http://www.lib.kmutt.ac.th/st4kid/nonFlash/index.jsp?id=218

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น