วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

ETV

http://www.etvthai.tv

แหล่งรวมคลิปวิดีโอการติวแบบออนไลน์
และข่าวสารทางการศึกษา

ความถี่

ความถี่ (frequency) หมายถึง จำนวนลูกคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านตำแหน่งใด ๆ ในหนึ่งหน่วยเวลา แทนด้วยสัญลักษณ์ f มีหน่วยเป็นรอบต่อวินาที (s-1) หรือ เฮิรตซ์ (Hz)

คาบของคลื่น

คาบ (period) หมายถึง ช่วงเวลาที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่านตำแหน่งใด ๆ ครบหนึ่งลูกคลื่น แทนด้วยสัญลักษณ์ มีหน่วยเป็นวินาทีต่อรอบ (s)

แอมพลิจูด


แอมพลิจูด
amplitude

ระยะการกระจัดที่มีค่ามากที่สุดจากแนวสมดุลไปยังเส้นคลื่นหรือท้องคลื่นแอมพลิจูด เป็นตัวแสดงถึงพลังงานของคลื่น ถ้าแอมพลิจูดสูง แสดงว่าพลังงานของคลื่นมีค่ามาก ถ้าแอมพลิจูดต่ำ พลังงานของคลื่นมีค่าน้อย


แอมพลิจูดของคลื่นน้ำ แสดงถึง ความสูงต่ำของการกระเพื่อมของน้ำ

แอมพลิจูดของคลื่นเสียง แสดงถึง ความดัง – ค่อย ของเสียง

แอมพลิจูดของคลื่นแสง แสดงถึง ความเข้มของแสง (มืด – สว่าง)

สืบค้นเรื่องที่เกี่ยวกับคลื่นที่ตนเองยังไม่เข้าใจ

ชนิดของคลื่น
คลื่นเป็นปรากฎการณ์ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่รูปแบบหนึ่ง คลื่นสามารถจำแนกตามลักษณะต่าง ๆได้ดังนี้
1. จำแนกตามลักษณะการอาศัยตัวกลาง

1.1 คลื่นกล (Mechanical wave) เป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยอาศัยตัวกลางซึ่งอาจเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซก็ได้ ตัวอย่างของคลื่นกลได้แก่ คลื่นเสียง คลื่นที่ผิวน้ำ คลื่นในเส้นเชือก เป็นต้น

1.2 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic waves) เป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยไม่อาศัยตัวกลาง สามารถเคลื่อนที่ในสุญญากาศได้ เช่น คลื่นแสง คลื่นวิทยุและโทรทัศน์ คลื่นไมโครเวฟ รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา เป็นต้น

2. จำแนกตามลักษณะการเคลื่อนที่

2.1 คลื่นตามขวาง (Transverse wave) เป็นคลื่นที่อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ในทิศตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น ตัวอย่างของคลื่นตามขวางได้แก่ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

2.2 คลื่นตามยาว (Longitudinal wave) เป็นคลื่นที่อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ไปมาในแนวเดียวกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น ตัวอย่างของคลื่นตามยาวได้แก่ คลื่นเสียง

3. จำแนกตามลักษณะการเกิดคลื่น

3.1 คลื่นดล (Pulse wave) เป็นคลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดถูกรบกวนเพียงครั้งเดียว

3.2 คลื่นต่อเนื่อง (Continuous wave) เป็นคลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดถูกรบกวนเป็นจังหวะต่อเนื่อง

ส่วนประกอบของคลื่น

สันคลื่น (Crest) เป็นตำแหน่งสูงสุดของคลื่น หรือเป็นตำแหน่งที่มีการกระจัดสูงสุดในทางบวก

ท้องคลื่น (Crest) เป็นตำแหน่งต่ำสุดของคลื่น หรือเป็นตำแหน่งที่มีการกระจัดสูงสุดในทางลบ

แอมพลิจูด (Amplitude) เป็นระยะการกระจัดมากสุด ทั้งค่าบวกและค่าลบ

ความยาวคลื่น (wavelength) เป็นความยาวของคลื่นหนึ่งลูกมีค่าเท่ากับระยะระหว่างสันคลื่นหรือท้องคลื่นที่อยู่ถัดกัน ความยาวคลื่นแทนด้วยสัญลักษณ์ มีหน่วยเป็นเมตร (m)

ความถี่ (frequency) หมายถึง จำนวนลูกคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านตำแหน่งใด ๆ ในหนึ่งหน่วยเวลา แทนด้วยสัญลักษณ์ มีหน่วยเป็นรอบต่อวินาที (s-1) หรือ เฮิรตซ์ (Hz)

คาบ (period) หมายถึง ช่วงเวลาที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่านตำแหน่งใด ๆ ครบหนึ่งลูกคลื่น แทนด้วยสัญลักษณ์ มีหน่วยเป็นวินาทีต่อรอบ (s)

อัตราเร็วของคลื่น (wave speed) หาได้จากผลคูณระหว่างความยาวคลื่นและความถี่

สมบัติของคลื่น (wave properties)
คลื่นทุกชนิดแสดงสมบัติ 4 อย่าง คือการสะท้อน การหักเห การแทรกสอด และการเลี้ยวเบน

การสะท้อน (reflection) เกิดจากคลื่นเคลื่อนที่ไปกระทบสิ่งกีดขวาง แล้วเปลี่ยนทิศทางกลับสู่ตัวกลางเดิม

การหักเห (refraction) เกิดจากคลื่นเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่ต่างกัน แล้วทำให้อัตราเร็วเปลี่ยนไป

การเลี้ยวเบน (diffraction) เกิดจากคลื่นเคลื่อนที่ไปพบสิ่งกีดขวาง ทำให้คลื่นส่วนหนึ่งอ้อมบริเวณของสิ่งกีดขวางแผ่ไปทางด้านหลังของสิ่งกีดขวางนั้น

การแทรกสอด (interference) เกิดจากคลื่นสองขบวนที่เหมือนกันทุกประการเคลื่อนที่มาพบกัน แล้วเกิดการซ้อนทับกัน ถ้าเป็นคลื่นแสงจะเห็นแถบมืดและแถบสว่างสลับกัน ส่วนคลื่นเสียงจะได้ยินเสียงดังเสียงค่อยสลับกัน


http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet3/saowalak/wave/wave.htm

การหักเหของคลื่น

เมื่อให้คลื่นเคลื่อนที่จากตัวกลาหนึ่งไปสู่อีกตัวกลางหนึ่ง เช่น คลื่นน้ำลึกเคลื่อนที่จากน้ำลึกเข้าสู่บริเวณน้ำตื้น จะทำให้ความยาวคลื่นของคลื่นน้ำจะเปลี่ยนแปลงไปด้วย การที่คลื่นน้ำเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งไปสู่อีกตัวกลางหนึ่งแล้วทำให้อัตรา เร็วและความยาวคลื่นเปลี่ยนไปแต่ความถี่คงที่ เรียกว่า "การหักเหของคลื่น" และคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านรอยต่อ ระหว่างตัวกลางไปเรียกว่า "คลื่นหักเห"
ในการหักเหของคลื่นจากตัวกลางหนึ่งไปสู่อีกตัวกลางหนึ่ง จะทำให้ความเร็ว และความยาวคลื่นเปลี่ยนไป แต่ทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นอาจจะไม่เปลี่ยน หรือเปลี่ยนไปจากแนวเดิมก็ได้

การเลี้ยวเบนของคลื่น

เมื่อคลื่นเคลื่อนที่ผ่านสิ่งกีดขวาง คลื่นส่วนที่กระทบสิ่งกีดขวางจะสะท้อนกลับคลื่นบางส่วนที่ผ่านไปได้จะสามารถแผ่จากขอบของสิ่งกีดขวางเข้าไปทางด้านหลังของสิ่งกีดขวางนั้น คล้ายกับคลื่นเคลื่อนที่อ้อมผ่านสิ่งกีดขวางนั้นได้ เรียกว่า การเลี้ยวเบนของคลื่น


การเลี้ยวเบนของคลื่นน้ำผ่านช่องเดี่ยว



เมื่อคลื่นน้ำหน้าตรงตกกระทบสิ่งกีดขวางที่มีช่องเดี่ยวกว้าง d จะเกิดการเลี้ยวเบน

เมื่อหน้าคลื่นที่ผ่านช่องเดี่ยวไปได้นั้นทุก ๆ จุดจะทำหน้าที่เสมือนเป็นจุดกำเนิดคลื่น กระจายคลื่นไปเสริมกันหรือหักล้างกัน เกิดเป็นแนวบัพและแนวปฏิบัพ







สูตรการคำนวณหาแนวบัพ

d sin q = nl



สูตรการคำนวณหาแนวปฏิบัพ

d sin q = ( n + )l

การแทรกสอดของคลื่น

เมื่อมีคลื่นต่อเนื่องจากแหล่งกำเนิดคลื่นสองแหล่งที่มีความถี่เท่ากันและเฟสตรงกันเคลื่อนที่มาพบกัน จะเกิดการซ้อนทับระหว่างคลื่นต่อเนื่องสองขบวนนั้น ปรากฎการณ์เช่นนี้เรียกว่า การแทรกสอดของคลื่น (Interference)

1.การแทรกสอดแบบเสริมกัน เกิดจากสันคลื่นของคลื่นทั้งสองมารวมกัน คลื่นลัพธ์ที่เกิดขึ้น จะมีวันคลื่นสูงกว่าเดิม และมีท้องคลื่นลึกกว่าเดิม และจะเรียกตำแหน่งนั้นว่า ปฏิบัพ(Antinode)

2.การแทรกสอดแบบหักล้าง เกิดจากสันคลื่นจากแหล่งกำเนิดหนึ่งมารวมกับท้องคลื่นของ อีกแหล่งกำเนิดหนึ่ง คลื่นลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะมีสันคลื่นต่ำกว่าเดิม และท้องคลื่นตื้นกว่าเดิม และเรียกตำแหน่งนั้นว่า บัพ(Node)
ที่มา http://www.skn.ac.th/skl/skn42/phy67/interference.htm

รังสีอัลฟา


อนุภาคแอลฟาประกอบด้วยโปรตอน 2 อนุภาคกับนิวตรอน 2 อนุภาค
รังสีชนิดอนุภาคที่ก่อให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออนได้สูงแต่ มีการทะลุทะลวงต่ำ
โดยเป็นกระแสของอนุภาคแอลฟา (?) ซึ่งเป็นอนุภาคประจุบวกที่ประกอบด้วยโปรตอน 2
อนุภาคและนิวตรอน 2 อนุภาค เทียบเท่ากับนิวเคลียสของฮีเลียม-4 (He2+).
มีมวล 6.644656?10-27 กิโลกรัม ในธรรมชาติรังสีแอลฟาเกิดจากการสลายของสารกัมมันตรังสี
เช่น ยูเรเนียม หรือทอเรียม ที่เรียกว่าการสลายให้อนุภาคแอลฟา (alpha decay หรือ
alpha disintegration) ซึ่งเกิดขึ้นได้เมื่ออะตอมชนิดนั้น ๆ มีอัตราส่วนของนิวตรอน
ต่อโปรตอนในนิวเคลียสต่ำ



พอโลเนียม-210 ซึ่งไม่เสถียร มีอัตราส่วนนิวตรอนต่อโปรตอนเท่ากับ 1.5
เมื่อสลายให้อนุภาคแอลฟาและแปรธาตุเป็นตะกั่ว-206 ซึ่งเสถียร
มีอัตราส่วนนิวตรอนต่อโปรตอนเพิ่มขึ้นเป็น 1.51
อนุภาคแอลฟาที่ปล่อยออกมาจากนิวเคลียสของอะตอมที่มีขนาด ใหญ่จะมีพลังงานสูง
อยู่ในช่วง 3 ถึง 7 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ (MeV) แต่เมื่อเปรียบเทียบกับรังสีชนิดอื่น ๆ
ที่ปล่อยออกมาจากการสลายของสารกัมมันตรังสีด้วยกันแล้ว รังสีแอลฟา
มีน้ำหนักมากกว่า จึงเคลื่อนที่ได้ช้ากว่า ถ้าเฉลี่ยว่าเป็นอนุภาคแอลฟา
ที่มีพลังงาน 5 MeV ก็จะมีความเร็ว 15,000 กิโลเมตรต่อวินาที
รังสีแอลฟามีการทะลุทะลวงต่ำที่สุด
การที่อนุภาคแอลฟามีประจุ และมีมวลมากทำให้ถูกสสารดูดกลืน

ได้ง่ายจึงมีความสามารถในการทะลุทะลวงต่ำ โดยจะผ่านไป

ในอากาศได้เพียง2-3 เซนติเมตร และไม่สามารถทะลุผ่าน

แผ่นกระดาษหรือผิวหนังได้ดังนั้นรังสีแอลฟาจะไม่มีอันตราย

เมื่ออยู่ภายนอกร่างกายมนุษย์แต่หากหากเข้าไปอยู่ในร่างกาย

อาจจะโดยการสูดหายใจหรือกลืนสารที่เป็นต้นกำเนิดรังสีแอลฟา

เข้าไป การมีประจุและมีมวลมากกว่ากลับเป็นอันตรายต่อ

เซลล์ร่างกายมากกว่ารังสีชนิดอื่น

รังสีแกมมา


รังสีแกมมาเป็นกัมมันตภาพรังสี (radioactivity) ที่เกิดจากสภาวะความไม่เสถียรภายในนิวเคลียสของอะตอมของธาตุที่เป็นไอโซโทป กัมมันตรังสี (radioisotope elements) เบคเคอร์เรล (Antonine
Henri Becquerel, 1852-1908) เป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ค้นพบกัมมันตภาพรังสีที่แผ่ออกมาจากธาตุ ยูเรเนียม ซึ่งมีรังสีทั้งที่เป็นอนุภาค (รังสีอแอลฟา, รังสีบีตา) และรังสีที่เหมือนกับรังสีเอกซ์ ซึ่งต่อมาเรียกรังสีที่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูงนี้ว่า รังสีแกมมา (gamma rays)

ปัจจุบัน รังสีแกมมาที่ได้จากไอโซโทปกัมมันตรังสีนำมาใช้อย่างกว้างขวางทั้งในวงการ แพทย์ เกษตร และอุตสาหกรรม ในทางการแพทย์ใช้รังสีแกมมาทำลายเซลล์มะเร็ง ใช้วินิจฉัยโรคในร่างกาย หรือติดตามการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ใช้สารไอโซโทปของธาตุไอโอดินศึกษาการทำงานของต่อมไทรอยด์ ในทางอุตสาหกรรมเกษตรใช้รังสีแกมมาอาบผลผลิตทางการเกษตร เช่นผลไม้ ให้ปราศจากแมลง และเก็บไว้ได้นาน ก่อนบรรจุส่งออกจำหน่าย ด้วยเหตุที่รังสีแกมมามีพลังงานสูงสามารถทะลุทะลวงวัสดุหนาๆได้จึงใช้รังสี ชนิดนี้วิเคราะห์โครงสร้างภายในเช่นเดียวกันกับรังสีเอกซ์ แต่สะดวกกว่ารังสีเอกซ์ตรงที่เครื่องกำเนิดมีขนาดเล็กกว่าเคลื่อนย้ายได้ สะดวก ไม่ต้องมีระบบระบายความร้อนเหมือนเครื่องฉายรังสีเอกซ์

วิทยาการทางดาราศาสตร์ใช้รังสีแกมมา วิเคราะห์ อวกาศ ดวงดาว และแกแลกซี เช่นเดียวกับการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอื่นๆ เพื่อดูว่าแหล่งใดในจักรวาลให้รังสีแกมมาออกมา กล้องโทรทัศน์ที่มีเครื่องตรวจจับรังสีแกมมาติดตั้งครั้งแรกกับดาวเทียม Explorer XI และต่อมาติดตั้งในดาวเทียม CGRO ทำให้การศึกษาโครงสร้างดาว และแกแลกซีได้รายละเอียดมากขึ้น เช่น ดูภาพของดวงอาทิตย์ หลุมดำ หรือดาวนิวตรอนได้ลึกขึ้นซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้จากการถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่ เหล็กไฟฟ้าชนิดอื่น
รังสีแกมมา เป็นรังสีอันตราย การนำรังสีชนิดมาใช้งานต้องระมัดระวังเป็นอันมาก โดยเฉพาะการใช้รังสีแกมมาและการเก็บแหล่งกำเนิดรังสีชนิดนี้ต้องอยู่ในการ ควบคุมของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด วัสดุที่ใช้กั้นรังสีชนิดนี้เป็นแผ่นตะกั่วหนา หรือกำแพงคอนกรีต ส่วนจะเป็นวัสดุชนิดใดหรือหนาเท่าไรขึ้นกับการออกแบบเพื่อใช้งาน เช่น ถ้าใช้สำหรับวิเคราะห์ หรือเครื่องมือตรวจจับภาคสนามจะบรรจุไอโซโทปที่ให้รังสีแกมมาในกล่องบุด้วย ตะกั่วหนาที่มีหน้าต่างปิดเปิดอย่างมิดชิด ส่วนในโรงงานฉายรังสีนิยมเก็บแหล่งกำเนิดรังสีแกมมาที่ให้ความแรงรังสีสูง ไว้ในห้องใต้ดินที่มีระบบป้องกันรังสีเป็นอย่างดี แล้วมีระบบกลไกอัตโนมัติผลักให้แหล่งกำเนิดรังสีดังกล่าวขึ้นมาในห้องฉาย รังสีเมื่อต้องการใช้งาน


ที่มา: http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?passTo=95043ab4d4b095ec180e7e43db0e3354&bookID=142&pageid=6&read=true&count=true

รังสีเอกซ์

รังสีเอกซ์ (X-Ray) ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1895 โดยนักฟิสิกส์ชาวเยอรมันชื่อ เรินต์เกน
ได้พบรังสีนี้โดยบังเอิญ ในขณะที่เขาทำการทดลองเกี่ยวกับรังสีคาโทดในห้องมืดสนิท
เขาสังเกตว่า แร่แบเรียมแพลทิโนไซยาไนด์เกิดเรืองแสงขึ้น ทำให้คิดว่าจะต้องมี
รังสีบางอย่างเกิดขึ้นจากหลอดรังสีแคโทดและมีอำนาจทะลุผ่านสูงจนสามารถผ่าน
ผนังหลอดคาโธดไปยังก้อนแร่ได้ เรินต์เกนเรียกรังสีนี้ว่า รังสีเอกซ์ ซึ่งภายหลัง
นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาและทดลองเกี่ยวกับรังสีชนิดนี้มากขึ้นและสรุปคุณสมบัติ
ของรังสีเอกซ์ได้ดังนี้
1. รังสีเอกซ์เป็นทั้งคลื่นและอนุภาค การที่มีสมบัติเป็นคลื่นเพราะมีการสะท้อน
การหักเห การแทรกสอดและการเลี้ยวเบน และเป็นอนุภาคเพราะ
มีโมเมนตัมเหมือนอนุภาคทั่วไป
2. รังสีเอกซ์เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไม่สามารถที่จะถูกเบี่ยงเบนโ
ดยสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วงประมาณ
1.3 x 10-11 ถึง 4.8 x 10-11 เมตร จึงไม่สามารถมองเห็นได้
3. รังสีเอกซ์ประกอบด้วยรังสีที่มีความยาวคลื่นแตกต่างกันมาก
เคลื่อนที่เป็นเส้นตรงด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วแสงคือ
มีค่า 3x108 m/s ในสุญญากาศ
4.รังสีเอกซ์สามารถทะลุผ่านวัตถุที่ไม่หนาจนเกินไปและมีความหนาแน่นน้อยๆได้
เช่น กระดาษ ไม้ เนื้อเยื่อของคนและสัตว์ แต่ถ้าผ่านวัตถุที่มีความหนาแน่นมาก ๆ
เช่น แพลตินัม ตะกั่ว กระดูก อำนาจทะลุผ่านก็จะลดลง
5.รังสีเอกซ์สามารถทำให้อากาศแตกตัวเป็นอิออนได้
6.รังสีเอกซ์สามารถทำให้ผลึกบางชนิดเรืองแสงและแสงที่เรืองออกมา
สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าได้
7.รังสีเอกซ์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีได้ เช่นเมื่อรังสีเอกซ์
ไปถูกฟิลม์ถ่ายรูปจะทำให้ฟิลม์ดำ จึงนำผลอันนี้มาใช้ในการถ่ายภาพ
บนฟิลม์เอกซ์เรย์




http://www.rmutphysics.com/physics/oldfront
/quantum/quantum2/quantum_19.htm

รังสีอินฟราเรด

รังสีอินฟราเรด
รังสี อินฟราเรดหรือรังสีความร้อน เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง มีความยาวคลื่น 700 นาโนเมตร - 1 มิลลิเมตร มีความถี่ช่วง 1011-1014 เฮิร์ต ซึ่งเป็นคลื่นที่มีความถี่ถัดจากความถี่ของสีแดงลงมา มนุษย์จึงไม่สามารถมองเห็นรังสีอินฟราเรด แต่สามารถรู้สึกถึงความร้อนได้และ
รังสีอินฟราเรดมีคุณสมบัติไม่เบี่ยงเบน ในสนามแม่เหล็ก วัตถุทุกชนิดที่มีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง
-200 องศาเซลเซียส ถึง 4,000 องศาเซลเซียส จะแผ่รังสีอินฟราเรดออกมา แม้แต่น้ำแข็งก็มีการแผ่รังสี อินฟราเรดเช่นกัน แต่จะแผ่รังสีออกมาน้อยกว่าวัตถุที่ร้อน

ประเภทของรังสีอินฟรา เรด
อินฟราเรดระยะใกล้ (Near Infrared) มีช่วงความยาวคลื่น 0.7-1.4 um มีความถี่ 230-430 THz ใช้กับอุปกรณ์มองกลางคืน
อินฟราเรดระยะสั้น (Short Infrared) มีช่วงความยาวคลื่น 1.4-3 um มีความถี่ 100-230 THz ใช้กับระบบโทรคมนาคมระยะไกล
อินฟราเรดระยะกลาง (Mid Infrared) มีช่วงความยาวคลื่น 3-8 um มีความถี่ 38-100 THz ใช้นำทางจรวดจรวดมิสซายล์และตรวจจับเครื่องบิน
อินฟราเรดระยะยาว (Long Infrared) มีช่วงความยาวคลื่น 8-15 um มีความถี่ 22-38 THz ใช้ตรวจจับความร้อน โดยไม่ต้องใช้แหล่งกำเนิดแสงจากภายนอก
อินฟราเรดระยะไกล (Far Infrared) มีช่วงความยาวคลื่น 15-1,000 um มีความถี่ 0.3-22 THz ใช้ตรวจหาวัตถุระเบิด

ประโยชน์จากรังสีอินฟราเรด
ใช้รังสีอินฟราเรด ในรีโมทคอนโทลเพื่อสั่งงานเครื่องใช้ไฟฟ้า รังสีอินฟราเรดใช้ในการประกอบอาหารโดยทำเป็นเตาแก๊สอินฟราเรดเพื่อให้ความ ร้อน ทำเป็นเครื่องกำเนิดความร้อนในห้องซาวน่า ทางการแพทย์ใช้ความร้อนอุณหภูมิต่ำจากรังสีอินฟราเรด
บำบัดผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าหรือทำให้แผลเรื้อรังหายเร็วขึ้น
ทางการทหารใช้อินฟราเรดนำทาง จรวดมิสซายล์ไล่ล่าเครื่องบินของศัตรู มองในที่มืด ช่วยให้ลั่นไกได้อย่างแม่นยำไปยังผู้ร้ายเพื่อให้จบภารกิจอย่างรวดเร็ว ใช้เป็นเครื่องจับเท็จจากหลักการที่ว่าความกลัว,ความกังวล จะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้นอัตราการหายใจถี่ขึ้น อุณหภูมิร่างกายจะสูงขึ้น ทำให้ได้รังสีความร้อนซึ่งใช้บอกว่าคนร้ายพูดจริงหรือเท็จ ทางการขนส่งใช้คัดกรองผู้ป่วยมีไข้ เช่น ในช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 สามารถใช้อินฟราเรดคัดกรองผู้ป่วยมีไข้ออกจากคนปกติ ได้ในเวลารวดเร็วเพียงแค่เดินผ่านเครื่องตรวจ
ในทางอุตสาหกรรมใช้ตรวจวงจรไฟฟ้าที่โอเวอร์โหลดตรวจสอบความร้อนที่สูญเสีย ในอาคาร

ที่มาห้องสมุดของ Kmutt >>>
http://www.lib.kmutt.ac.th/st4kid/nonFlash/index.jsp?id=218

การสะท้อนของคลื่น






















วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553